Advertisement
ครูผู้ช่วย 2566 สอบอะไรบ้าง เนื้อหาที่ใช้ในการ สอบครูผู้ช่วย 2566 สังกัด สพฐ.เช็คที่นี่
สวัสดีค่ะ ครูดีดอทคอม มีข่าวเกี่ยวกับ การสอบครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. มาฝากค่ะ ครูผู้ช่วย 2566 สอบอะไรบ้าง เช็คที่นี่
Advertisement
หลังจากที่ สพฐ.ออกประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( สอบครูผู้ช่วย 66 ) ว14/2566 ทำให้ทราบว่า ครูผู้ช่วย 2566 สอบอะไรบ้าง การสอบแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป ภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ และ ภาค ค ความเหมาะสมกับตําแหน่งวิชาชีพ และการปฏิบัติงานในสถานศึกษา เนื้อหาที่ใช้ในการ สอบครูผู้ช่วย 2566 สังกัด สพฐ. ดังนี้
- สอบครูผู้ช่วย 66 ภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) สอบอะไรบ้าง
1. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ให้ทดสอบโดยวิธีการ
สอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องต่อไปนี้
1.1 การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา ได้แก่ การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ความเข้าใจ ในการอ่านภาษาไทย การจับใจความสําคัญ การสรุปความ การตีความจากบทความ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ
1.2 การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม ได้แก่ การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคํา ข้อความ หรือรูปภาพ ตลอดจนการหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ สถานการณ์ หรือแบบจําลองต่าง ๆ
1.3 การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ความเข้าใจ ความคิดรวบยอด และแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงปริมาณ ตลอดจนการประเมินความเพียงพอของข้อมูล
2. ทักษะภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) ให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียน แบบปรนัย เพื่อวัดความเข้าใจในหลักการสื่อสาร โดยใช้ศัพท์ สํานวน โครงสร้างประโยคที่เหมาะสม ทั้งในเชิงความหมาย และบริบท แสดงถึงความสามารถในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การวัดความสามารถ ด้านการอ่าน โดยทดสอบการทําความเข้าใจในสาระของข้อความหรือบทความ และการวัดความสามารถ ด้านการเขียนภาษาอังกฤษ ในระดับเบื้องต้น
3. ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) ให้ทดสอบ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย เพื่อวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี ได้แก่ ระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หน้าที่และความรับผิด ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตลอดจนเจตคติและจริยธรรมสําหรับข้าราชการ - สอบครูผู้ช่วย 66 ภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) สอบอะไรบ้าง
1. มาตรฐานความรู้ทั่วไปในการจัดการเรียนการสอน (คะแนนเต็ม 75 คะแนน) ให้ทดสอบ
โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องต่อไปนี้
1.1 การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คําปรึกษาในการวิเคราะห์
และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
1.3 หลักสูตร ศาสตร์การสอน และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้
1.4 การวัดประเมินผลการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
1.5 การออกแบบและการดําเนินการเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา
2. มาตรฐานความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน (วิชาเอก) (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ให้ทดสอบ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย
3.ความรอบรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และแนวทางการปฏิรูปการศึกษา(คะแนนเต็ม 25 คะแนน) ให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องต่อไปนี้
3.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
1) รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน
2) กฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ
3) กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
4) กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5) กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
6) กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
7) กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองเด็ก
8) กฎหมายว่าด้วยการศึกษาปฐมวัย
3.2 แนวทางการปฏิรูปการศึกษา ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
2) แผนการศึกษาแห่งชาติ
3) นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ - สอบครูผู้ช่วย 66 ภาค ค ความเหมาะสมกับตําแหน่ง วิชาชีพ และการปฏิบัติงานในสถานศึกษา (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) สอบอะไรบ้าง ใช้เวลาไม่เกิน 20 นาที โดยมีองค์ประกอบการประเมิน ดังนี้
1.คุณลักษณะส่วนบุคคล (คะแนนเต็ม 25 คะแนน) ให้ประเมินจากการสัมภาษณ์ ดังนี้
1.1 บุคลิกลักษณะ ท่วงทีวาจา
1.2 วุฒิภาวะทางอารมณ์และการมีปฏิภาณการแก้ปัญหา
1.3 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เจตคติ และอุดมการณ์ความเป็นครู
2. การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ (คะแนนเต็ม 25 คะแนน) ให้ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน ดังนี้
2.1 ประวัติการศึกษา
2.2 ผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและวิชาเอกที่สําเร็จการศึกษา
2.3 การเข้าถึงชุมชน และการมีจิตสาธารณะ
3. ความสามารถด้านการสอน (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) ให้ประเมินจากการนําเสนอที่แสดงถึง ทักษะและศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนของตนเองในสาขาวิชาที่สมัครในรูปแบบและวิธีการต่าง
ตามที่ผู้ดําเนินการสอบแข่งขันกําหนด
ดาวน์โหลดไฟล์แผ่นพับสอบสัมภาษณ์ครู ภาค ค ไฟล์ Powerpoint แผ่นพับครูผู้ช่วย 2566 แก้ไขได้ ที่นี่
Advertisement
ท่านสามารถศึกษา เกณฑ์การสอบบรรจุครู สังกัด สพฐ.ปี 2566 เพิ่มเติมได้ที่นี่
คุณสมบัติของผู้สมัครสอบครูผู้ช่วย แบ่งออกเป็น คุณสมบัติทั่วไป ตาม พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และคุณสมบัติเฉพาะ ดังนี้
คุณสมบัติทั่วไป
- สัญชาติไทย พร้อมทั้งมีบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านเป็นหลักฐาน
- อายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
- ไม่เป็นหรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
- ไม่เป็นคนจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในหรือเป็นโรคตามที่กำหนดใน กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2549
- ไม่อยู่ในระหว่างการถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งออกจากราชการไว้ก่อน ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547
- ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี ในการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา
- ไม่เป็นเจ้าหน้าที่ ในพรรคการเมือง ทั้งนี้ รวมไปถึงกรรมการบริหารพรรคด้วย
- ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
- ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ยกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือลหุโทษ
- ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก เนื่องจากการกระทำผิดวินัยตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 หรือตามกฎหมายอื่น ๆ
- ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
คุณสมบัติเฉพาะ
Advertisement
- มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ.กำหนด
- มีหลักฐานการอนุญาตประกอบวิชาชีพที่คุรุสภารับรอง อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
- ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน
- หนังสือรับรองสิทธิ
ขอบคุณเนื้อหาจาก สพฐ.
เรื่องราวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เช็ค กำหนดการสอบครูผู้ช่วย สพฐ.2566 ได้ที่นี่ สพฐ.ออกประกาศ การสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ประจำปี พ.ศ.2566
เอกสารหลักฐาน สมัครสอบครูผู้ช่วย 2566 กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ.
เช็คที่นี่ อัตราว่างสอบครูผู้ช่วย 2566 แต่ละ เขตพื้นที่การศึกษา แต่ละ จังหวัด